วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Assignment 5

ชื่อกลุ่ม
MR.NICEGUY




สมาชิกกลุ่ม

นาย กมล ทองแถม 58143405  Sec.04
นาย นฤพงษ์  ซาพา  58143417  Sec.04
นาย อัครศาสตร์  มั่นขัน 58143520  Sec.03
นาย พงศธร  ฟองคำ  58143536  Sec.03
นาย เจตพล มณีวรรณ 58143538  Sec.03

เสนอ 

อาจารย์  ดร.ภัทราพร  พรหมคำตัน

วิชา การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย  COM27024
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

7 Layer


รูปแบบ OSI  มีการแบ่งโครงสร้างของสถาปัตยกรรมออกเป็น 7 เลเยอร์ และในแต่ละเลเยอร์ได้มีการกำหนดหน้าที่การทำงานไว้ดังต่อไปนี้



1.  เลเยอร์  Physical 



      เป็นชั้นล่างสุดของการติดต่อสื่อสาร ทำหน้าที่รับ-ส่งข้อมูลจริง ๆ จากช่องทางการสื่อสาร (สื่อกลาง) ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ มาตรฐานสำหรับเลเยอร์ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนกเตอร์ (Connector) เช่น RS-232-C  มีกี่พิน (PIN)  แต่ละพินทำหน้าที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลต์ เทคนิคการ มัลติเพล็กซ์แบบต่าง ๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้

          2.  เลเยอร์ชั้น Data Link 


     จะเป็นเสมือนผู้ตรวจสอบหรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูลโดยจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็กเกตหรือเฟรม ถ้าผู้รับได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณรับรองกลับมาว่าได้รับข้อมูลแล้ว เรียกว่า สัญญาณ ACK”  (Acknowledge) ให้กับผู้ส่ง แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK  หรือได้รับ สัญญาณ NAK”  (Negative Acknowledge) กลับมา ผู้ส่งก็อาจจะทำการส่งข้อมูลไปให้ใหม่ อีกหน้าที่หนึ่งของเลเยอร์ชั้นนี้คือ ป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกินขีดความสามารถของเครื่องผู้รับจะรับข้อมูลได้

          3.  เลเยอร์ชั้น  Network 


    เป็นชั้นที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ส่ง-รับในการผ่านข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง ซึ่งแน่นอนว่าในการสื่อสาร ข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารจะต้องมีเส้นทางการส่ง-รับข้อมูลมากกว่า 1 เส้นทาง ดังนั้น เลเยอร์ชั้น Network  นี้จะมีหน้าที่เลือกเส้นทางที่มีการใช้ช่องทางสื่อสารที่ใช้เวลาการสื่อสารน้อยที่สุด และระยะทางสั้นที่สุดด้วย ข่าวสารที่รับมาจากเลเยอร์ชั้นที่ 4  จะถูกแบ่งออกเป็นแพ็กเกตๆ ในชั้นที่ 3 นี้

          4.  เลเยอร์ชั้น Transport


      บางครั้งเรียกว่า เลเยอร์ชั้น Host-To-Host” หรือเครื่องต่อเครื่องและจากเลเยอร์ชั้นที่ 4 ถึงชั้นที่ 7 นี้รวมกันจะเรียกว่า  เลเยอร์ End-To-End”  ในเลเยอร์ชั้น Transport นี้เป็นการสื่อสารกันระหว่างต้นทางและปลายทาง (คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์) กันจริง ๆ เลเยอร์ชั้น Transport จะทำหน้าที่ตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งมาจากเลเยอร์ชั้น Session นั้นไปถึงปลายทางจริงๆ หรือไม่ ดังนั้นการกำหนดตำแหน่งปลายทางของข้อมูล (Address) จึงเป็นเรื่องสำคัญในชั้นนี้ เนื่องจากจะต้องรู้ว่าใครคือผู้ส่งและใครคือผู้รับข้อมูลนั้น

          5.  เลเยอร์ชั้น  Session 


ทำหน้าาที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผู้ใช้จะใช้คำสั่งหรือข้อความที่กำหนดไว้ป้อนเข้าไปในระบบ ในการสร้างการ เชื่อมโยงนี้ ผู้ใช้จะต้องกำหนดรหัสตำแหน่งของจุดหมายปลายทางที่ต้องการติดต่อสื่อสารด้วย เลเยอร์ชั้น Session จะส่งข้อมูลทั้งหมดให้กับเลเยอร์ชั้น Transport เป็นผู้จัดการต่อไป ในบางเครือข่ายทั้งเลเยอร์ Session และเลเยอร์ Transport อาจจะเป็นเลเยอร์ชั้นเดียวกัน

          6.  เลเยอร์ชั้น Presentation


  ทำหน้าที่เหมือนบรรณารักษ์ คือ คอยรวบรวมข้อความ (Text) และแปลงรหัสหรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน เพื่อช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกันผู้ใช้งานในระบบ

          7.  เลเยอร์ชั้น Application


  เป็นเลเยอร์ชั้นบนสุดของรูปแบบ OSI ซึ่งเป็นชั้นที่ใช้ติดต่อกับระหว่างผู้ใช้โดยตรงซึ่งได้แก่ โฮสต์คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัล หรือคอมพิวเตอร์ PC  เป็นต้น แอปพลิเคชั่นในเลเยอร์ชั้นนี้สามารถนำเข้าหรือออกจากระบบเครือข่ายได้ โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่ามีขั้นตอนการทำงานอย่างไร เพราะจะมีเลเยอร์ชั้น Presentation เป็น ผู้รับผิดชอบแทนอยู่แล้ว ในรูปแบบ OSI  เลเยอร์ชั้น Application จะการติดต่อกับเลเยอร์ชั้น Presentation โดยตรงเท่านั้น

          โปรโตคอลของในเลเยอร์แต่ละชั้นจะแตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ หลาย ๆ เครื่องจะติดต่อสื่อสารกันได้ ในแต่ละเลเยอร์ของแต่ละเครื่องจะต้องใช้โปรโตคอลแบบเดียวกันหรือถ้าใช้โปรโตคอลต่างกันก็ต้องมีอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ที่สามารถแปลงโปรโตคอลที่ต่างกันนั้นให้มีรูปแบบเป็นอย่างเดียวกัน เพื่อเชื่อมโยงให้คอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เครื่องสามารถติดต่อกันได้


          ตัวอย่างของโปรโตคอลที่ใช้ในเลเยอร์ชั้นต่าง ๆ ในรูปแบบ OSI  แสดงไว้ในตารางที่ 6.1
ตารางที่ 6.1  โปรโตคอลมาตรฐาน ISO และ CCITT ที่ใช้ในเครือข่ายรูปแบบ OSI

เลเยอร์
มาตรฐาน
รายละเอียด
7
ISO  8571
ISO  8572
การบริการโอนถ่ายและการแลกเปลี่ยนข้อมูล
โปรโตคอลการบริการโอนถ่ายและการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ISO  8831
ISO  8832
การบริการโอนถ่ายและการแลกเปลี่ยนข้อมูล
โปรโตคอลการบริการโอนถ่ายและการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ISO  9040
ISO  9041
การบริการเทอร์มินัลแบบเสมือน
โปรโตคอลการบริการเทอร์มินัลแบบเสมือน
CCITT X.400
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และกักเก็บข่าวสาร
6
ISO  8822
ISO  8823

การบริการแบบ Connection-oriented ในเลเยอร์ Presentation
โปรโตคอลการบริการแบบ Connection-oriented ในเลเยอร์
Presentation

เลเยอร์
มาตรฐาน
รายละเอียด
5
ISO  8326
ISO  8327
การบริการแบบ Connection-oriented ในเลเยอร์ Session
โปรโตคอลการบริการแบบ Connection-oriented ในเลเยอร์ Session
4
ISO  8072
ISO  8073

การบริการแบบ Connection-oriented ในเลเยอร์ Transport
โปรโตคอลการบริการแบบ Connection-oriented ในเลเยอร์
Transport
3
CCITT X.25
โปรโตคอล X.25  ในเลเยอร์ Network
2
ISO  8802
(IEEE 802)
CCITT X.25
โปรโตคอลสำหรับเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)

โปรโตคอล SDLC, HDLC ในเลเยอร์ Data Link
1
CCITT X.21
ดิจิตอลอินเตอร์เฟซของเลเยอร์ Physical

          จากรูปที่ 6.5  เราสามารถแบ่งส่วนการทำงานของสถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI ได้ง่าย ๆ โดยดูจากรูปทางซ้ายมือซึ่งจัดแบ่งเลเยอร์ทั้ง 7 ชั้นออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนของผู้ใช้งาน ส่วนการติดต่อระหว่างเครื่องต่อเครื่อง และส่วนการเชื่อมโยงต้นทางกับปลายทาง สำหรับในทางขวามือของรูปจะเป็นการจัดแบ่งลักษณะการสื่อสารออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ดำเนินการโดยผู้ใช้งาน และอีกส่วนหนึ่งเป็นการดำเนินการโดยเครือข่าย 




          ถ้าเราพูดถึงการติดต่อเชื่อมโยงการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งให้แบ่งกลุ่มการทำงานของเลเยอร์ตามทางซ้ายมือของรูป แต่ถ้าเป็นเรื่องของโปรโตคอลซึ่งทำหน้าที่ในการกำหนดการติดต่อสื่อสารและควบคุมจัดการการสื่อสาร ขอให้ยึดแบบการแบ่งลักษณะของการสื่อสารตามทางขวามือเป็นหลัก
          ตัวอย่างเช่น การสื่อสารข้อมูลโดยผ่านทางเครือข่าย X.25 แพ็กเกตสวิตซ์  โดยยึดการแบ่งกลุ่มเลเยอร์ตามทางขวามือ โปรโตคอล X.25  ของเครือข่ายจะทำหน้าที่ในการกำหนดการสื่อสารใน 3 เลเยอร์ชั้นล่างของรูปแบบ OSI  ส่วนของเลเยอร์ 4 ชั้นที่เหลือจะเป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้งาน
          สรุปหน้าที่การทำงานของเลเยอร์แต่ละชั้นของรูปแบบ OSI  ได้ดังนี้

เลเยอร์
หน้าที่
7  Application

แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโปรแกรมหรือระหว่างเครื่องและบริหารในเครือข่าย
เช่น ฐานข้อมูล งานพิมพ์ เป็นต้น
6  Presentation
จัดรูปแบบข้อมูล เข้ารหัสหรือแปลงรหัสสำหรับโปรแกรมแอปพลิเคชั่น
5  Session
ให้อุปกรณ์ 2 เครื่องหรือแอปพลิเคชั่น 2 ตัว เชื่อมต่อและสื่อสารข้อมูลกันได้
4  Transport
แก้ไขข้อผิดพลาด ประกันความถูกต้องของข้อมูลเมื่อถึงปลายทาง
3  Network

กำหนดเส้นทาง เลือกเส้นทางสื่อสารข้อมูล และกำหนดตำแหน่งอุปกรณ์
แต่ละตัวในเครือข่าย
2  Data Link
รวบรวมข้อมูลเป็นชุดเตรียมส่งเข้าสู่เครือข่าย
1  Physical
ช่องทางสื่อสารข้อมูล กำหนดการเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์

Credit: http://osimode01.weebly.com/osi-model-7-layer.html



OSI model




ในปี ค.. 1977 องค์กร ISO (International Organization for Standard) ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นกลุ่มหนึ่งเพื่อทำการศึกษาจัดรูปแบบมาตรฐานและพัฒาสถาปัตยกรรมเครือข่าย และในปี ค.. 1983 องค์กร ISO  ก็ได้ออกประกาศรูปแบบของสถาปัตยกรรมเครือข่ายมาตรฐานในชื่อของ รูปแบบ OSI” (Open Systems Interconnection Model) เพื่อใช้เป็นรูปแบบมาตรฐานในการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ อักษร “O” หรือ “Open” ก็หมายถึงการที่คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งสามารถ เปิดกว้างให้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์อื่นที่ใช้มาตรฐาน OSI  เหมือนกันสามารถติดต่อไปมาหาสู่ระหว่างกันได้อย่างไม่มีปัญหา
จุดมุ่งหมายของการกำหนดมาตรฐานรูปแบบ OSI  ขึ้นมานั้นก็เพื่อเป็นการกำหนดการแบ่งโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายออกเป็นเลเยอร์ ๆ และกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละเลเยอร์ รวมถึงกำหนดรูปแบบการอินเตอร์เฟซระหว่างเลเยอร์ด้วย โดยมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดดังต่อไปนี้
1.      ไม่แบ่งโครงสร้างออกเป็นเลเยอร์ ๆ มากจนเกินไป
2.      แต่ละเลเยอร์จะต้องมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกันทั้งขบวนการและเทคโนโลยี
3.      จัดกลุ่มหน้าที่การทำงานที่คล้ายกันให้อยู่ในเลเยอร์เดียวกัน
4.      เลือกเฉพาะการทำงานที่เคยใช้ได้ผลประสบความสำเร็จมาแล้ว
5.      กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะอย่างง่าย ๆ แก่เลเยอร์ เผื่อว่าต่อไปถ้ามีการออกแบบเลเยอร์ใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลใหม่ในอันที่จะทำให้สถาปัตยกรรมมี ประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จะไม่มีผลทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เคยใช้ได้ผลอยู่เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงตาม
6.      กำหนดอินเตอร์เฟซมาตรฐาน
7.      ให้มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละเลเยอร์
8.      สำหรับเลเยอร์ย่อยของแต่ละเลเยอร์ให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับที่กล่าวมาใน 7 ข้อแรก


สถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI  ที่ได้ประกาศออกสู่สาธารณะชนมีรูปแบบดังแสดงในรูปที่ 6.3 และสถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI  สำหรับการสื่อสารผ่านเครือข่ายเป็นดังแสดงในรูปที่ 6.4






Protocol

Data Link Layer



เป็นชั้นที่ทำหน้ากำหนดรูปแบบของการส่งข้อมูลข้าม Physical Network โดยใช้ Physical Address อ้างอิงที่อยู่ต้นทางและปลายทาง ซึ่งก็คือ MAC Address นั่นเอง รวมถึงทำการตรวจสอบและจัดการกับ error ในการรับส่งข้อมูล ข้อมูลที่ถูกส่งบน Layer 2 เราจะเรียกว่า Frame

ซึ่งบน Layer 2 ก็จะแบ่งเป็น LAN และ WAN ครับ

ซึ่ง ปัจจุบัน บน Layer 2 LAN เรานิยมใช้เทคโนโลยีแบบ Ethernet มากที่สุด ส่วน WAN ก็จะมีหลายแบบแตกต่างกันไป เช่น Lease Line (HDLC , PPP) , MPLS , 3G และอื่นๆ

Credit: http://netprime-system.com/osi-model-7-layers/



Network Layer



ทำหน้าที่ส่งข้อมูลข้ามเครือข่าย หรือ ข้าม network โดยส่งข้อมูลผ่าน Internet Protocol (IP) โดยมีการสร้างที่อยู่ขึ้นมา (Logical Address) เพื่อใช้อ้างอิงเวลาส่งข้อมูล เราเรียกว่า IP address ข้อมูลที่ถูกส่งมาจากต้นทาง เพื่อไปยังปลายทาง ที่ไม่ได้อยู่บนเครือข่ายเดียวกัน จำเป็นจะต้องพึ่งพาอุปกรณ์ที่ทำงานบน Layer 3 นั่นก็คือ Router หรือ Switch Layer 3 โดยใช้ Routing Protocol (OSPF , EIGRP) เพื่อหาเส้นทางและส่งข้อมูลนั้น (IP) ข้ามเครือข่ายไป
โดยการทำงานของ Internet Protocol (IP) เป็นการทำงานแบบ Connection-less หมายความว่า IP ไม่มีการตรวจสอบข้อมูลว่าส่งไปถึงปลายทางไหม แต่มันจะพยายามส่งข้อมูลออกไปด้วยความพยายามที่ดีที่สุด (Best-Effort) เพราะฉะนั้น ข้อมูลที่ส่งออกไปแล้วไม่ถึงปลายทาง ต้นทางก็จะไม่รู้เลย ถ้าส่งไปแล้วข้อมูลไม่ถึงปลายทาง ฝั่งต้นทางจะต้องทำการส่งไปใหม่ บน Layer 3 จึงมี Protocol อีกตัวนึงเพื่อใช้ตรวจสอบว่าปลายทางยังมีชีวิตอยู่ไหม ก่อนที่จะส่งข้อมูล นั่นคือ ICMP ครับ แต่ผู้ใช้งานจะต้องเป็นคนเรียกใช้ protocol ตัวนี้เองนะครับ

จริงๆ แล้ว ก็ยังมีรายละเอียดของ ICMP , ARP อีกที่ทำงานบน Layer 3 แต่เบื้องต้น เอาไว้เท่าที่ก่อนละกันครับ สำหรับ Layer 3

Credit: http://netprime-system.com/osi-model-7-layers/




Transport Layer



ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ Upper Layer ในการใช้งาน network services ต่างๆ หรือ Application ต่าง จากต้นทางไปยังปลายทาง (end-to-end connection) ในแต่ละ services ได้ โดยใช้ port number ในการส่งข้อมูลของ Layer 4 จะใช้งานผ่าน protocol 2 ตัว คือ TCP และ UDP

เมื่อข้อมูลถูกส่งมาใช้งานผ่าน services Telnet ไปยังปลายทางถูกส่งลงมาที่ Layer 4 ก็จะทำการแยกว่า telnet คือ port number 23 เป็น port number ที่ใช้ติดต่อไปหาปลายทาง แล้วฝั่งต้นทางก็จะ random port number ขึ้นมา เพื่อให้ปลายทางสามารถตอบกลับมาได้เช่นเดียวกัน



นอกจาก Three-Way Handshake แล้ว TCP ยังมีกลไก Flow Control เพื่อควบคุมการส่งข้อมูลเมื่อเกิดปัญหาบนเครือข่ายระหว่างที่ส่งข้อมูลอยู่ หรือ กลไล Error Recovery ในกรณีที่มีข้อมูลบางส่วนหายไปขณะส่ง ก็ให้ทำการส่งมาใหม่ (Retransmission) แต่ผมขอพูดเรื่องกลไลต่างๆไว้เพียงเบื้องต้นละกันนะครับ

นอก จากนั้นยังสามารถทำการจัดสรรค์หรือแบ่งส่วนของข้อมูลออกเป็นส่วนๆ (Segmentation) ก่อนที่จะส่งลงไปที่ Layer 3 อีกด้วย และข้อมูลที่ถูกแบ่งออก ก็จะใส่ลำดับหมายเลขเข้าไป (Sequence number) เพื่อให้ปลายทางนำข้อมูลไปประกอบกันได้อย่างถูกต้อง

User Datagram Protocol (UDP) มีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

- ไม่มีการสร้าง Connection กันก่อนที่จะมีการรับส่งข้อมูลกัน (Connectionless)

- ส่งข้อมูลด้วยความพยายามที่ดีที่สุด (Best-Effort)

- ไม่มีการตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งไปถึงปลายทางหรือไม่   (No Recovery)

Credit: http://netprime-system.com/osi-model-7-layers/



Session Layer



เมื่อฝั่งต้นทางต้องการติดต่อไปยังปลายทางด้วย port 80 (เปิด Internet Explorer) ฝั่งต้นทางก็จะทำการติดต่อไปยังปลายทาง โดยการสร้าง session ขึ้นมา เป็น session ที่ 1 ส่งผ่าน Layer 4 โดย random port ต้นทางขึ้นมาเป็น 1025 ส่งไปหาปลายทางด้วย port 80

ระหว่าง ที่ session ที่ 1 ใช้งานอยู่ เราติดต่อไปยังปลายทางอีกครั้งด้วย port 80 (เปิด Google Chrome) ฝั่งต้นทางก็จะทำการสร้าง session ที่ 2 ขึ้นมา ส่งผ่าน Layer 4 โดย random port ต้นทางขึ้นมาเป็น 1026 ส่งไปหาปลายทางด้วย port 80

แล้วแต่ละ session ฝั่งปลายทาง ก็จะตอบกลับมาด้วย port ที่ฝั่งต้นทางส่งมา ทำให้สามารถแยก session ออกได้ เมื่อเราส่งข้อมูลบนเครือข่ายนั่นเองครับ

Credit: http://netprime-system.com/osi-model-7-layers/





Presentation Layer



ทำหน้าที่ในการแปล หรือ นำเสนอ structure , format , coding ต่างๆของข้อมูลบน application ที่จะส่งจากต้นทางไปยังปลายทาง ให้อยู่ในรูปแบบที่ฝั่งต้นทางและปลายทาง สามารถเข้าใจได้ทั้ง 2 ฝั่ง

ผมอ่านจากเว็บนึงกล่าวไว้ก็เข้าใจง่ายดีนะครับ

Most computers use the ASCII table for characters. If another computer would use another character like EBCDIC than the presentation layer needs to “reformat” the data so both computers agree on the same characters.

เค้าบอกว่า computer ส่วนมากใช้ ASCII format ถ้าจะติดต่อพวก computer mainframe จะใช้พวก EBCDIC format ซึ่ง Layer 6 ก็จะทำการ reformat ข้อมูล ซึ่งสามารถทำให้ทั้ง 2 เครื่องสามารถเข้าใจ format ข้อมูลที่จะสื่อสารกันได้

Credit: http://netprime-system.com/osi-model-7-layers/

Application Layer



ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้ (user) กับ application ที่ใช้งานบนเครือข่าย เช่น Web Browser (HTTP) , FTP , Telnet เป็นต้น สรุปแล้วมันก็คือพวก application ที่ใช้งานผ่าน network นั่นเองครับ


Credit: http://netprime-system.com/osi-model-7-layers/

Protocol 1

HTTP (Hyper Text Transfer Protocol )


HTTP ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol เป็นโปรโตคอล(Protocol)สื่อสารที่ทำงานอยู่ในระดับ Application Layer บนโปรโตคอล TCP/IP  มีรูปแบบดังนี้

1.เป็นโปรโตคอลหลักที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล(HTML)กันระหว่าง Web Server และ Web Client(Browser)
2.ใช้ URL(Uniform Resoure Locator) ในการเข้าถึงเว็ปไซต์(Web Site)  ซึ่งจะขึ้นต้นด้วย http:// ตามด้วยชื่อของเว็ปไซต์
3.ทำงานที่พอร์ต(port) 80 (มาตรฐาน)
4.ส่งข้อมูลเป็นแบบ Clear text คือ ไม่มีการเข้ารหัสข้อมูลในระหว่างการส่ง(None-Encryption) จึงสามารถถูกดักจับได้ และอ่านข้อมูลนั้นรู้เรื่อง

Credit: http://na5cent.blogspot.com/2012/04/https.html



HTTPS (Hypertext Transfer Protocol over Secure Socket Layer)



        HTTPS ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol Secure หรือ Hypertext Transfer Protocol Over SSL(Secure Socket Layer) เป็นการทำงานเหมือนกับ HTTP ธรรมดาแต่ทำอยู่บน SSL เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการส่งข้อมูลมากยิ่งขึ้น  มีรูปแบบดังนี้
1.การใช้งาน URL จะเข้าต้นด้วย https://  ตามด้วยชื่อของเว็ปไซต์
2.ทำงานที่พอร์ต(port) 443 (มาตรฐาน)
3.ส่งข้อมูลเป็นแบบ Cipher text คือ มีการเข้ารหัสข้อมูลในระหว่างการส่ง(Encryption) สามารถถูกดักจับได้  แต่อ่านข้อมูลนั้นไม่รู้เรื่อง
4.มีการทำ Authentication เพื่อตรวจสอบยืนยันระบุตัวตน

Credit: http://na5cent.blogspot.com/2012/04/https.html



POP3 (Post Office Protocol 3)



POP ถูกออกแบบสำหรับการเข้าถึงแบบ offline คือ จดหมายอยู่ใน server และผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมที่สนับสนุน POP ในการเข้าถึงจดหมายจากระยะไกล การจัดการใดๆ กับจดหมายจะเป็นการจัดการในเครื่องของผู้ใช้เท่านั้น ถึงแม้ว่าข้อจำกัดของการเข้าถึงแบบ offline จะทำให้เกิดความคิดที่จะทำให้ POP สามารถใช้งานในแบบ online หรือ แบบ disconnected ได้ แต่ POP ขาดคุณสมบัติที่จำเป็นบางอย่าง ส่วนการเข้าถึงแบบเสมือน online (pseudo-online) จดหมายจะไม่ถูกลบออกจาก server แต่ก็ไม่ใช่การเข้าถึงแบบ online ที่แท้จริง เพราะขาดโปรโตคอลในการเข้าถึงระบบไฟล์ในเครื่อง server ในการที่จะเข้าถึงหรือเปลี่ยนแปลง folder หรือ สถานะต่างๆ ของจดหมาย

การทำงานของ POP3 จะทำงานร่วมกับโปรโตคอล TCP(Transmission Control Protocol ) โดยทั่วไป จะใช้ port 110 ในการติดต่อ ขั้นตอนการทำงานของ POP3 จะประกอบด้วย 3 สถานะ คือ สถานะขออนุมัติ,สถานะรับส่งรายการ และสถานะปรับปรุงข้อมูล ซึ่งในแต่ละสถานะจะรับรู้คำสั่งต่าง ๆ ของโปรโตคอลที่แตกต่างกัน ดังนี้


Credit: http://th.easyhostdomain.com/dedicated-servers/pop3-SMTP.html



SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)



เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่ใช้สำหรับส่งอีเมล์์ไป ยังเครื่องบริการอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ยอมให้คนนอกองค์กร หรือ IP ที่อยู่นอกองค์กรใช้งาน SMTP เพราะอาจมีคนภายนอกมาแอบใช้ ทำให้บริการ SMTP ทำงานหนักให้กับคนภายนอกโดยไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ กับองค์กรเช่น ถ้าเราซื้อ internet connection ของใคร ก็อาจจำเป็นต้องใช้ SMTP ของค่ายนั้น



Credit: http://th.easyhostdomain.com/dedicated-servers/pop3-SMTP.html


FTP (File Transfer Protocol)



FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol คือ โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย เรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้ FTP ที่พบบ่อยสุด ก็เช่น การดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ ทำให้ FTP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่สร้างเว็บเพจ ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน และโปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Filezilla,CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น

FTP แบ่งเป็น 2 ส่วน
1. FTP server  เป็นโปรแกรมที่ถูกติดตั้งไว้ที่เครื่องเซิฟเวอร์ ทำหน้าที่ให้บริการ FTP หากมีการเชื่อมต่อจากไคลแอนเข้าไป
2. FTP client  เป็นโปรแกรม FTP ที่ถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ user ทั่วๆไป ทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยัง FTP server และทำการอัพโหลด ,ดาวน์โหลดไฟล์ หรือ จะสั่งแก้ไขชื่อไฟล์, ลบไฟล์ และเคลื่อนย้ายไฟล์ก็ได้เช่นกัน

ความสำคัญของ FTP
     โดยปกติเมื่อเราต้องการทำเว็บไซต์ไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม สิ่งที่เราจะต้องนึกถึงและขาดไม่ได้คือ Hosting หรือ Server ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก การที่เว็บไซต์ของเราสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีหยุดนั้น ก็เพราะ Hosting ไม่เคยปิดนั่นเอง ส่วนการสร้างเว็บไซต์เกิดจากการเขียน Code โปรแกรม ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษา HTML , PHP , ASP , ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องนำไฟล์ที่เราเขียนเสร็จเรียบร้อยไปใส่บน Hosting เพื่อสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน แต่ด้วยหนทางที่อยู่ไกลกันระหว่างเรากับ Hosting ที่เราขอใช้บริการไว้ เราจึงต้องใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ ในการโอนย้ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา กับ Hosting ซึ่งเทคโนโลยีนั้นคือ FTP นั่นเอง


Credit: http://www.mindphp.com/


IP (Internet Protocol)



 IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP
ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1  เป็นต้น  โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง computer ของเราอยู่ใน network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร

       เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126

       สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ  อย่างเช่น  Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ  โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ

Credit: http://www.mindphp.com/



TCP/IP (Transfer Control Protocol/Internet Protocol)



การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ  จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol ) ซึ่งในระบบInternet จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP เป็นภาษาหลัก ดังนั้นหากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้
TCP  ย่อมาจากคำว่า   Transmission Control Protocol
IP   ย่อมาจากคำว่า   Internet  Protocol
TCP/IP คือชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้
และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ

TCP และ IP มีหน้าที่ต่างกัน คือ
 1.  TCP จะทำหน้าที่ในการแยกข้อมูลเป็นส่วน ๆ หรือที่เรียกว่า Package ส่งออกไป ส่วน TCP ปลายทาง ก็จะทำการรวบรวมข้อมูลแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยระหว่างการรับส่งข้อมูลนั้นก็จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูลด้วย ถ้าเกิดผิดพลาด TCP ปลายทางก็จะขอไปยัง TCP ต้นทางให้ส่งข้อมูลมาใหม่
 2.  IP จะทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางโดยอาศัย IP Address

Credit: http://www.mindphp.com/


DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol)



DHCP ย่อมาจาก Dynamic Host Configuration Protocol คือโพรโทคอลที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบแม่ข่ายกับลูกข่าย โดย DHCP ได้รับการยอมรับเป็นมาตราฐานในการใช้งานในเครือข่ายแทน BOOTP ซึ่งเป็นโพรโทคอลรุ่นเก่า ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1993 โดยในปัจจุบันนี้ DHCP ได้มีการพัฒนามาถึงเวอร์ชั่น DHCPv6 ใช้กับงานร่วมกับโพรโทคอล IPv6 และได้รับมาตราฐานในการใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ.2003
DHCP ทำหน้าที่อะไร
หน้าที่หลักๆของ DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol) คือคอยจัดการและแจกจ่ายเลขหมายไอพีให้กับลูกข่ายที่มาเชื่อมต่อกับแม่ข่ายไม่ให้หมายเลขไอพีของลูกข่ายมีการซ้ำกันอย่างเด็ดขาด อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งได้ทำการเชื่อมต่อกับ DHCP Server เครื่องเซฟเวอร์ก็จะให้ หมายเลขไอพีกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มาทำการต่อเชื่อมแบบอัตโนมัติ ซึ่งไม่ว่าจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากเท่าไร DHCP Server ก็จะออกเลยหมายไอพีให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่ซ้ำกันทำให้เครือข่ายนั้นไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน

Credit:http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/dhcp/


IMAP (Internet Message Access Protocol)



IMAP ย่อมาจาก Internet Message Access Protocol ซึ่งมีข้อดีกว่า โปรโตคอล POP (Post Office Protocol) ที่จะทำงานแบบ Offline Model หรือจะเรียกว่าการทำงานด้านเดียวนั้นเอง ซึ่งการทำงานของ POP จะแตกต่างจาก IMAP อย่างสิ้นเชิง โดยการทำงานของ POP จะใช้งานผ่าน Email client จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดต่อกับ Mail Server โดยตรงซึ่งการแก้ไข ลบ เพิ่ม เติมอีเมล์ก็จะทำได้จาก Email client เท่านั้น แต่การทำงานของ IMAP นั้นทำงานแตกต่างจากโปรโตคอล POP ด้วยการทำงานควบคู่กับอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆซึ่งการทำงานแบบนี้เรียกว่า การทำงานแบบ Two way communication หรือ Online Model
ลักษณะการทำงานของโปรโตคอล IMAP นั้นจะทำงานแบบออนไลน์ด้วยการจัดการและประมวลผลต่าง ๆทางออนไลน์จาก Mail Server ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งเตือนว่ามีการเปิดอ่านเมล์ใหม่หรือยัง หรือการลบเมล์ที่มีอยู่ใน อินบล็อคออกไป โดยการทำงานทั้งหมดจะอยู่ที่ Mail Server เป็นตัวจัดการ ซึ่งผู้ใช้งานเพียงแต่ทำงานอ่านและจัดการสั่งงานเพียงเท่านั้น เราสามารถอธิบายการทำงานของระบบ IMAP ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้นไปอีกก็คือ เมื่อเราเปิดอ่านเมล์ในมือถือและทำการลบเมล์นั้นทิ้งไปแล้ว เมื่อเราไปเปิดอีเมล์ในคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆอีเมล์ที่ลบไปแล้วจะไม่โชว์ให้เราเห็น ซึ่งต่างจากโปรโตคอล POP อย่างสิ้นเชิง เพราะการทำงานของ POP เมื่อเราลบอีเมล์จากคอมพิวเตอร์ออกไปแล้วเมื่อเราไปเปิดอีเมล์จากมือถือเราก็ยังพบอีเมล์ที่ถูกลบไปแล้วในคอมพิวเตอร์อยู่นั่นเอง

Credit:http://www.comgeeks.net/imap/



ARP (Address Resolution Protocol)



ARP (Address Resolution Protocol) เป็น โปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสาร ทำหน้าที่ในการจับคู่ระหว่างไอพีแอดเดรสทางลอจิคัล กับ แอดเดรสทางทางฟิสิคัล ทั้งนี้เนื่องจากระบบของการส่งข้อมูลในระบบไอพีนั้น เป็นระบบที่ไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ใดๆ ซึ่งหมายความว่าระบบไอพีไม่มีความสามารถในการเรียกใช้ฮาร์ดแวร์ในการส่งข้อมูลด้วยตัวเอง ทำให้เมื่อระบบไอพีต้องการส่งข้อมูล จะต้องร้องขอบริการจากระดับชั้นดาต้าลิงค์ แต่เนื่องจากระดับชั้นดาต้าลิงค์ไม่รู้จักแอดเดรสในระบบไอพี ดังนั้นระบบไอพีจึงต้องทำการหาแอดเดรสที่ระดับชั้นดาต้าลิงค์รู้จัก ซึ่งก็คือฮาร์ดแวร์แอดเดรส เพื่อที่จะสร้างเฟรมข้อมูลในชั้นดาต้าลิงค์ได้ โดยโพรโตคอล ARP จะทำหน้าที่นี้การทำงานของ ARP เมื่อแพ็คเกตนำเข้าที่ระบุเครื่อง host ในระบบเครือข่ายมาถึง Gateway เครื่องที่ Gateway จะเรียกโปรแกรม ARP ให้หาเครื่อง Host หรือ MAC address ที่ตรงกับ IP Address โปรแกรม ARP จะหาใน ARP cache เมื่อพบแล้วจะแปลงแพ็คเกต เป็นแพ็คเกตที่มีความยาวและรูปแบบที่ถูกต้อง เพื่อส่งไปยังเครื่องที่ระบุไว้ แต่ถ้าไม่พบ โปรแกรม ARP จะกระจายแพ็คเกตในรูปแบบ บรอดคาสต์ ไปยังเครื่องทุกเครื่องในระบบ และถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งทราบว่ามี IP Address ตรงกันก็จะตอบกลับมาที่ ARP โปรแกรม ARP จะปรับปรุง ARP Cache และส่งแพ็คเกตไปยัง MAC Address หรือเครื่องที่ตอบมา โพรโตคอล ARP ได้ถูกกำหนดไว้เป็นมาตรฐานภายใต้ RFC 826 โดยการทำงานของ ARP จะมีรูปแบบการทำงานในแบบ บรอดคาสต์ ดังนั้นเครือข่ายที่ใช้งานกับโพรโตคอล ARP ได้จึงต้องเป็นเครือข่ายที่มีการทำงานในแบบ บรอดคาสต์ ซึ่งระบบแลนส่วนใหญ่จะมีการทำงานเป็นแบบบรอดคาสต์อยู่แล้ว จึงสามารถทำงานร่วมกับโพรโตคอล ARPได้เป็นอย่างดี และนอกเหนือจากโพรโตคอล ARP แล้วยังมีอีกโพรโตคอลหนึ่งที่ถือว่าเป็นโพรโตคอลคู่แฝดของ ARP โดยจะมีการทำงานที่ย้อนกลับกันกับโพรโตคอล ARP ดังนั้นจึงมีชื่อว่า RARP (Reverse ARP) โดยกำหนดไว้ภายใต้ RFC 903 โดยรูปแบบเฟรมของ ARP และ RARP จะมีลักษณะเหมือนกัน


Credit:https://sites.google.com/site/arpkku/home/arp-khux-xari


RARP (Reverse Address Resolution Protocol)



RARP (Reverse Address Resolection Protocol) เป็นโปรโตคอล ซึ่งเครื่องทางกายภาพ ในเครือข่าย LAN สามารถขอเรียนรู้ IP Address จากเครื่องแม่ข่าย gateway หรือตาราง Address Resolution Protocol ผู้บริหารเครือข่ายสร้างตารางใน gateway router ของเครือข่าย LAN ที่ใช้จับคู่ address ของเครื่องทางกายภาพ (หรือ Media Access Control address) ที่ตรงกับ Internet Protocol address เมื่อมีการติดตั้งเครื่องใหม่ โปรแกรมลูกข่ายของ RARP จะขอ RARP server จาก routerให้ส่ง IP address มาให้ สมมติว่ามีการตั้งค่าในตาราง router แล้ว RARP server จะส่งกลับ IP address ไปที่เครื่องซึ่งจะเก็บไว้สำหรับการใช้ต่อไป

Credit:http://www.widebase.net/knowledge/itterm/it_term_desc.php?term_id=RARP&term_group=R


ICMP (Internet Control Message Protocol)



คือ การแจ้งหรือแสดงข้อความจากระบบ เพื่อบอกให้ผู้ใช้ ทราบว่า เกิดอะไรขึ้นในการส่งผ่านข้อมูลนั้น ซึ่งปัญหาส่วนมากที่พบคือ ส่งไปไม่ได้ หรือปลายทางรับข้อมูลไม่ได้ เป็นต้น นอกจากนี้ โปรโตคอล ICMP ยังถูกเรียกใช้งานจากเครื่อง Server และ Router อีกด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใช้ควบคุม ส่วนรูปแบบการทำงานของโปรโตคอล ICMP นั้นจะทำควบคู่กับโปรโตคอล IP ในระบบเดียวกัน และข้อความต่าง ๆ ที่แจ้งให้ทราบจะถูกผนึกอยู่ภายในข้อมูล IP ( IP datagram) อีกทีหนึ่ง ข้อความที่โปรโตคอล ICMP ส่งนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ ICMP Error Message หรือข้อความแจ้งข้อผิดพลาด และ ICMP Query หรือข้อความเรียกขอข้อมูลเพิ่ม ตัวอย่างกลไกการทำงานของโปรโตคอล ICMP เช่น เมื่อมีการส่งผ่านข้อมูลจากผู้ใช้ไปยังปลายทางที่ไม่ถูกต้อง หรือขณะนั้นเครื่องปลายทางเกิดปัญหาจนไม่สามารถรับข้อมูลได้ ที่ Router จะส่งข้อความแจ้งเป็น ICMP Message ที่ชื่อ Destination Unreachable ให้กับผู้ส่งข้อมูลนั้น นอกจากนี้ตัวข้อมูลที่แจ้งข้อความ ก็จะมีส่วนของข้อมูล IP Datagram ที่เกิดปัญหาด้วย ดังนั้น เมื่อผู้ส่งข้อมูลได้รับข้อความแจ้งแล้ว ก็จะทราบได้ว่า จุดที่เกิดปัญหานั้นอยู่ที่ใด
            ดังนั้นโปรโตคอล ICMP จึงกลายมาเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการช่วยทดสอบเครือข่าย เช่น คำสั่ง Ping ที่เรามักใช้ทดสอบว่าเครื่อง Server ที่ให้บริการหรืออุปกรณ์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายอินเตอร็เน็ตนั้นยังทำงานเป็นปกติหรือไม่ แล้วคำสั่ง Ping มีการเรียกใช้งานโปรโตคอล ICMP แจ้งเป็นข้อความให้ทราบอีกด้วยต่อหนึ่ง
 Internet Control Protocols
     กฎการควบคุมการสื่อสารข้อมูลบน Internet หมายถึงกฎระเบียบที่มีไว้ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลรวมถึงการแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆที่เกิดขึ้น ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการควบคุมฯ 4 แบบคือ ICMP, ARP, RARP, และBOOTP

Credit:http://amaneamisa.siam2web.com//?cid=1084628