รูปแบบ
OSI มีการแบ่งโครงสร้างของสถาปัตยกรรมออกเป็น
7 เลเยอร์
และในแต่ละเลเยอร์ได้มีการกำหนดหน้าที่การทำงานไว้ดังต่อไปนี้
1.
เลเยอร์ Physical
เป็นชั้นล่างสุดของการติดต่อสื่อสาร
ทำหน้าที่รับ-ส่งข้อมูลจริง ๆ จากช่องทางการสื่อสาร (สื่อกลาง) ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
ๆ มาตรฐานสำหรับเลเยอร์ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนกเตอร์ (Connector) เช่น RS-232-C มีกี่พิน (PIN) แต่ละพินทำหน้าที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลต์ เทคนิคการ มัลติเพล็กซ์แบบต่าง
ๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้
2.
เลเยอร์ชั้น Data Link
จะเป็นเสมือนผู้ตรวจสอบหรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูลโดยจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็กเกตหรือเฟรม
ถ้าผู้รับได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณรับรองกลับมาว่าได้รับข้อมูลแล้ว
เรียกว่า “สัญญาณ ACK” (Acknowledge) ให้กับผู้ส่ง
แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK หรือได้รับ “สัญญาณ NAK” (Negative Acknowledge) กลับมา
ผู้ส่งก็อาจจะทำการส่งข้อมูลไปให้ใหม่ อีกหน้าที่หนึ่งของเลเยอร์ชั้นนี้คือ
ป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกินขีดความสามารถของเครื่องผู้รับจะรับข้อมูลได้
3.
เลเยอร์ชั้น Network
เป็นชั้นที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ส่ง-รับในการผ่านข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง ซึ่งแน่นอนว่าในการสื่อสาร
ข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารจะต้องมีเส้นทางการส่ง-รับข้อมูลมากกว่า
1 เส้นทาง ดังนั้น เลเยอร์ชั้น Network นี้จะมีหน้าที่เลือกเส้นทางที่มีการใช้ช่องทางสื่อสารที่ใช้เวลาการสื่อสารน้อยที่สุด
และระยะทางสั้นที่สุดด้วย ข่าวสารที่รับมาจากเลเยอร์ชั้นที่ 4 จะถูกแบ่งออกเป็นแพ็กเกตๆ
ในชั้นที่ 3 นี้
4.
เลเยอร์ชั้น Transport
บางครั้งเรียกว่า “เลเยอร์ชั้น Host-To-Host” หรือเครื่องต่อเครื่องและจากเลเยอร์ชั้นที่
4 ถึงชั้นที่ 7 นี้รวมกันจะเรียกว่า “เลเยอร์ End-To-End” ในเลเยอร์ชั้น Transport นี้เป็นการสื่อสารกันระหว่างต้นทางและปลายทาง (คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์)
กันจริง ๆ เลเยอร์ชั้น Transport จะทำหน้าที่ตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งมาจากเลเยอร์ชั้น
Session นั้นไปถึงปลายทางจริงๆ หรือไม่
ดังนั้นการกำหนดตำแหน่งปลายทางของข้อมูล (Address) จึงเป็นเรื่องสำคัญในชั้นนี้
เนื่องจากจะต้องรู้ว่าใครคือผู้ส่งและใครคือผู้รับข้อมูลนั้น
5.
เลเยอร์ชั้น Session
ทำหน้าาที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
ๆ โดยผู้ใช้จะใช้คำสั่งหรือข้อความที่กำหนดไว้ป้อนเข้าไปในระบบ ในการสร้างการ
เชื่อมโยงนี้
ผู้ใช้จะต้องกำหนดรหัสตำแหน่งของจุดหมายปลายทางที่ต้องการติดต่อสื่อสารด้วย
เลเยอร์ชั้น Session จะส่งข้อมูลทั้งหมดให้กับเลเยอร์ชั้น Transport
เป็นผู้จัดการต่อไป ในบางเครือข่ายทั้งเลเยอร์ Session และเลเยอร์ Transport อาจจะเป็นเลเยอร์ชั้นเดียวกัน
6.
เลเยอร์ชั้น Presentation
ทำหน้าที่เหมือนบรรณารักษ์
คือ คอยรวบรวมข้อความ (Text) และแปลงรหัสหรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน
เพื่อช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกันผู้ใช้งานในระบบ
7.
เลเยอร์ชั้น Application
เป็นเลเยอร์ชั้นบนสุดของรูปแบบ
OSI ซึ่งเป็นชั้นที่ใช้ติดต่อกับระหว่างผู้ใช้โดยตรงซึ่งได้แก่
โฮสต์คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัล หรือคอมพิวเตอร์ PC เป็นต้น
แอปพลิเคชั่นในเลเยอร์ชั้นนี้สามารถนำเข้าหรือออกจากระบบเครือข่ายได้
โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่ามีขั้นตอนการทำงานอย่างไร เพราะจะมีเลเยอร์ชั้น Presentation
เป็น ผู้รับผิดชอบแทนอยู่แล้ว ในรูปแบบ OSI เลเยอร์ชั้น Application จะการติดต่อกับเลเยอร์ชั้น Presentation โดยตรงเท่านั้น
โปรโตคอลของในเลเยอร์แต่ละชั้นจะแตกต่างกันออกไป
แต่อย่างไรก็ตามการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ หลาย ๆ เครื่องจะติดต่อสื่อสารกันได้
ในแต่ละเลเยอร์ของแต่ละเครื่องจะต้องใช้โปรโตคอลแบบเดียวกันหรือถ้าใช้โปรโตคอลต่างกันก็ต้องมีอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ที่สามารถแปลงโปรโตคอลที่ต่างกันนั้นให้มีรูปแบบเป็นอย่างเดียวกัน
เพื่อเชื่อมโยงให้คอมพิวเตอร์ทั้ง 2
เครื่องสามารถติดต่อกันได้
ตัวอย่างของโปรโตคอลที่ใช้ในเลเยอร์ชั้นต่าง
ๆ ในรูปแบบ OSI แสดงไว้ในตารางที่
6.1
ตารางที่
6.1 โปรโตคอลมาตรฐาน ISO และ CCITT ที่ใช้ในเครือข่ายรูปแบบ OSI
เลเยอร์
|
มาตรฐาน
|
รายละเอียด
|
7
|
ISO 8571
ISO 8572
|
การบริการโอนถ่ายและการแลกเปลี่ยนข้อมูล
โปรโตคอลการบริการโอนถ่ายและการแลกเปลี่ยนข้อมูล
|
ISO 8831
ISO 8832
|
การบริการโอนถ่ายและการแลกเปลี่ยนข้อมูล
โปรโตคอลการบริการโอนถ่ายและการแลกเปลี่ยนข้อมูล
|
|
ISO 9040
ISO 9041
|
การบริการเทอร์มินัลแบบเสมือน
โปรโตคอลการบริการเทอร์มินัลแบบเสมือน
|
|
CCITT X.400
|
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และกักเก็บข่าวสาร
|
|
6
|
ISO 8822
ISO 8823
|
การบริการแบบ
Connection-oriented
ในเลเยอร์ Presentation
โปรโตคอลการบริการแบบ
Connection-oriented
ในเลเยอร์
Presentation
|
เลเยอร์
|
มาตรฐาน
|
รายละเอียด
|
5
|
ISO 8326
ISO 8327
|
การบริการแบบ
Connection-oriented
ในเลเยอร์ Session
โปรโตคอลการบริการแบบ
Connection-oriented
ในเลเยอร์ Session
|
4
|
ISO 8072
ISO 8073
|
การบริการแบบ
Connection-oriented
ในเลเยอร์ Transport
โปรโตคอลการบริการแบบ
Connection-oriented
ในเลเยอร์
Transport
|
3
|
CCITT X.25
|
โปรโตคอล
X.25 ในเลเยอร์ Network
|
2
|
ISO 8802
(IEEE 802)
CCITT X.25
|
โปรโตคอลสำหรับเครือข่ายท้องถิ่น
(LAN)
โปรโตคอล
SDLC,
HDLC ในเลเยอร์ Data Link
|
1
|
CCITT X.21
|
ดิจิตอลอินเตอร์เฟซของเลเยอร์
Physical
|
จากรูปที่ 6.5 เราสามารถแบ่งส่วนการทำงานของสถาปัตยกรรมรูปแบบ
OSI ได้ง่าย ๆ โดยดูจากรูปทางซ้ายมือซึ่งจัดแบ่งเลเยอร์ทั้ง 7
ชั้นออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนของผู้ใช้งาน
ส่วนการติดต่อระหว่างเครื่องต่อเครื่อง และส่วนการเชื่อมโยงต้นทางกับปลายทาง
สำหรับในทางขวามือของรูปจะเป็นการจัดแบ่งลักษณะการสื่อสารออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ดำเนินการโดยผู้ใช้งาน
และอีกส่วนหนึ่งเป็นการดำเนินการโดยเครือข่าย
ถ้าเราพูดถึงการติดต่อเชื่อมโยงการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งให้แบ่งกลุ่มการทำงานของเลเยอร์ตามทางซ้ายมือของรูป
แต่ถ้าเป็นเรื่องของโปรโตคอลซึ่งทำหน้าที่ในการกำหนดการติดต่อสื่อสารและควบคุมจัดการการสื่อสาร
ขอให้ยึดแบบการแบ่งลักษณะของการสื่อสารตามทางขวามือเป็นหลัก
ตัวอย่างเช่น
การสื่อสารข้อมูลโดยผ่านทางเครือข่าย X.25 แพ็กเกตสวิตซ์ โดยยึดการแบ่งกลุ่มเลเยอร์ตามทางขวามือ
โปรโตคอล X.25 ของเครือข่ายจะทำหน้าที่ในการกำหนดการสื่อสารใน
3 เลเยอร์ชั้นล่างของรูปแบบ OSI ส่วนของเลเยอร์ 4 ชั้นที่เหลือจะเป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้งาน
เลเยอร์
|
หน้าที่
|
7 Application
|
แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโปรแกรมหรือระหว่างเครื่องและบริหารในเครือข่าย
เช่น
ฐานข้อมูล งานพิมพ์ เป็นต้น
|
6 Presentation
|
จัดรูปแบบข้อมูล
เข้ารหัสหรือแปลงรหัสสำหรับโปรแกรมแอปพลิเคชั่น
|
5 Session
|
ให้อุปกรณ์
2 เครื่องหรือแอปพลิเคชั่น 2 ตัว
เชื่อมต่อและสื่อสารข้อมูลกันได้
|
4 Transport
|
แก้ไขข้อผิดพลาด
ประกันความถูกต้องของข้อมูลเมื่อถึงปลายทาง
|
3 Network
|
กำหนดเส้นทาง
เลือกเส้นทางสื่อสารข้อมูล และกำหนดตำแหน่งอุปกรณ์
แต่ละตัวในเครือข่าย
|
2 Data Link
|
รวบรวมข้อมูลเป็นชุดเตรียมส่งเข้าสู่เครือข่าย
|
1 Physical
|
ช่องทางสื่อสารข้อมูล
กำหนดการเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์
|
Credit: http://osimode01.weebly.com/osi-model-7-layer.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น