ในปี
ค.ศ. 1977 องค์กร ISO (International
Organization for Standard) ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นกลุ่มหนึ่งเพื่อทำการศึกษาจัดรูปแบบมาตรฐานและพัฒาสถาปัตยกรรมเครือข่าย
และในปี ค.ศ. 1983 องค์กร ISO ก็ได้ออกประกาศรูปแบบของสถาปัตยกรรมเครือข่ายมาตรฐานในชื่อของ
“รูปแบบ OSI” (Open Systems Interconnection Model) เพื่อใช้เป็นรูปแบบมาตรฐานในการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ อักษร “O”
หรือ “Open” ก็หมายถึงการที่คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งสามารถ
“เปิด” กว้างให้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์อื่นที่ใช้มาตรฐาน
OSI เหมือนกันสามารถติดต่อไปมาหาสู่ระหว่างกันได้อย่างไม่มีปัญหา
จุดมุ่งหมายของการกำหนดมาตรฐานรูปแบบ
OSI ขึ้นมานั้นก็เพื่อเป็นการกำหนดการแบ่งโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายออกเป็นเลเยอร์
ๆ และกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละเลเยอร์
รวมถึงกำหนดรูปแบบการอินเตอร์เฟซระหว่างเลเยอร์ด้วย
โดยมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดดังต่อไปนี้
1.
ไม่แบ่งโครงสร้างออกเป็นเลเยอร์ ๆ
มากจนเกินไป
2.
แต่ละเลเยอร์จะต้องมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกันทั้งขบวนการและเทคโนโลยี
3.
จัดกลุ่มหน้าที่การทำงานที่คล้ายกันให้อยู่ในเลเยอร์เดียวกัน
4.
เลือกเฉพาะการทำงานที่เคยใช้ได้ผลประสบความสำเร็จมาแล้ว
5.
กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะอย่างง่าย
ๆ แก่เลเยอร์ เผื่อว่าต่อไปถ้ามีการออกแบบเลเยอร์ใหม่
หรือมีการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลใหม่ในอันที่จะทำให้สถาปัตยกรรมมี
ประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
จะไม่มีผลทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เคยใช้ได้ผลอยู่เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงตาม
6.
กำหนดอินเตอร์เฟซมาตรฐาน
7.
ให้มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละเลเยอร์
8.
สำหรับเลเยอร์ย่อยของแต่ละเลเยอร์ให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับที่กล่าวมาใน
7 ข้อแรก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น